อำนาจหน้าที่ภารกิจและความรับผิดชอบของหน่วยงาน

 

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

       มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537  ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมภารกิจหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบล จึงมีขอบข่ายงานที่กว้างขวางอีกทั้ง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2542 ฉบับที่ 3

กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังต่อไปนี้

1.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
2.รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3.ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
6.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้ สูงอายุ และผู้พิการ
7.คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นตามความสมควร

นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังต่อไปนี้

1.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
2.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3.ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4.ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
5.ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
6.ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7.บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร์
8.การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณ์สมบัติของแผ่นดิน
9.หาผลประโยชน์ จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
10.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11.กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12.การท่องเที่ยว
13.การผังเมือง

                 
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่จะดำเนินกิจการใดเพื่อประโยชน์ ของๆ ประชาชนในตำบลแต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควรกรณีนี้หากองค์การบริหารสวนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้ กระทรวง ทบวง กรม
หรือองค์การหรือหน่วยงาน นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย
                เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบลเว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

                องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียม จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาทมีกฎหมาย เว้นแต่ จะบัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น
               ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก มีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกองคลัง กองช่างกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกองสวัสดิการสังคม ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ ข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราว ไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ ตามความจำเป็น และในการช่วยราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดแต่งตั้ง
               นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้ รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการ
ที่จำเป็นต้องทำและเป็นการ เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน               

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 ได้กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นซึ่งในฐานะที่องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งรัฐก็ต้องให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลโดยได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

1.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
2.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
3.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
4.การสาธารณูปการ
5.การส่งเสริมการฝึกและการประกอบอาชีพ
6.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
7.การส่งเสริมการท่องเที่ยว
8.การจัดการศึกษา
9.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
10.การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
11.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
12.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
13.การส่งเสริมกีฬา
14.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน
15.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
16.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
17.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
18.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
19.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
20.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
21.การจัดให มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
22.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
23.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
24.การผังเมือง
25.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
26.การดูแลรักษาที่สาธารณะ
27.การควบคุมอาคาร
28.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
29.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
30.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก มีความสำคัญต่อชุมชน(หมู่บ้าน/ตำบล) ดังนี้

   1.เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาตำบลให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม
   2.เป็นหน่วยงานประสานทรัพยากรระหว่าง อบต.กับท้องถิ่นอื่นๆรวมทั้งหน่วยราชการและหน่วยเอกชนอื่นๆ
   3.เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (อบต.) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณรายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
   4.เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่นให้ทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนเองก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้น ท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
   5.ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทำงานและใช้สิทธิถอดถอนผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงสร้างประกอบด้วย

1.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สภา อบต.)
2.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.และรองนายก อบต.)

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่
1.ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาท้องถิ่น
2.ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล/ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำประจำปี
3.ควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร
4.เข้าร่วมประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมที่ได้กำหนด

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
    บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตำบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการตลอดจน "ทุกข์ "และ "สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จึงต้องเป็นผู้ ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่เผยแพร่ และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตยไปยังประชาชนในตำบล
แนวทางปฏิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติมีดังนี้
  1.ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตยเช่นการเลือกตั้งโดยเสรีการใช้ สิทธิคัดค้านการโต้แย้งการแสดง ความคิดเห็นอย่างกว้างขว้างรยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของ กฎหมาย ฯลฯ
  2.ต้องมีวิถีการดำเนินชีวิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจ กว้างขว้างฟังเคารพในเหตุผล
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (รองนายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง
  1.บริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ เป็นไปตามข้อบังคับและแผนพัฒนาท้องถิ่น
  2.จัดทำแผนพัฒนาตำบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำ เสนอต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
  3.รายงานผลการดำเนินงานและการใช้ เงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปี ละ 2 ครั้ง
  4.ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมายเข้าร่วมประชุมกับสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุม
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่
  1.ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาท้องถิ่น
  2.ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล/ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำประจำปี
  3.ควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร
  4.เข้าร่วมประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมที่ได้กำหนด

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิและหน้าที่ดังนี้.
  1.มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
  2.ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหารอบต.
  3.เสนอให้ออกข้อบังคับตำบล
  4.แสดงเจตนารมณ์ ในการรวม อบต.
  5.เข้าฟังการประชุมสภา อบต.
  6.เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อการจ้างโดยวิธีสอบราคาประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างคณะละ 2 คน
  7.มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.
  8.ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตำบล
  9.เสียภาษีแก่ อบต.
 10.สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.
 11.ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.
 12.ร่วมกันเสริมสร้างชุมชนและประชาคมหมู่บ้านของตนให้เข้มแข็ง
 13.ได้รับบริการสาธารณะและการบำบัดทุกขบำรุงสุขจาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.