สภาพทั่วไป

 

1. ด้านกายภาพ

1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล


     หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน คือ
     1. หมู่ที่ 3  บ้านสลักใด
     2. หมู่ที่ 4  บ้านขาม
     3. หมู่ที่ 5  บ้านสลักใด
     4. หมู่ที่ 6 บ้านโนนตะโก



ที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ตั้งอยู่เลขที่ 158 หมู่ 5 ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044 – 335245 โทรสาร 044 – 335245 ต่อ 7



ตำบลกุดจิกเป็น 1 ใน 11 ตำบลในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประมาณ  7,669  ไร่ หรือ  12.27 ตารางกิโลเมตร  เป็นเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก  ประมาณ 3,969 ไร่ หรือ 6.35 ตารางกิโลเมตร  เป็นตำบลที่มีขนาดเล็ก มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง  ดังนี้

ทิศเหนือ จรด ตำบลโค้งยาง  อำเภอสูงเนิน  และตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ  จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก จรด     ตำบลโคกกรวด  อำเภอเมืองนครราชสีมา
ทิศตะวันตก จรด เทศบาลตำบลกุดจิก  อำเภอสูงเนิน
ทิศใต้   จรด   ตำบลนากลาง  อำเภอสูงเนิน

 
              
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
      ลักษณะภูมิประเภทขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 30.86 %  เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร 62.03 %  และมีพื้นที่ส่วนอื่น 7.11 %  มี ๓ ดูกาล  (ฤดูร้อน  ฤดูฝน ฤดูหนาว) พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก แยกเป็นรายหมู่บ้าน ได้ดังนี้

หมู่ที่ บ้าน เนื้อที่ (ไร่) อันดับ
3 บ้านสลักได 980 2
4 บ้านขาม 950 3
5 บ้านสลักได 870 4
6 บ้านโนนตะโก 1,169 1
  ยอดรวม 4 หมู่ 3,969  

 

การใช้ที่ดินในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก แยกประเภทได้ดังนี้

 

ลำดับที่  ประเภทการใช้ที่ดิน พื้นที่  (ไร่) ร้อยละ
1 ที่พักอาศัย 1,225 30.86
2 เกษตรกรรม 2,462 62.03
3 สถานศึกษา 31 0.78
4 ศาสนสถาน 25 0.63
5 สถานที่ราชการ 0.57 0.014
6 อื่น ๆ 225.43 5.5680
  รวม 3,969 100

 

 1.3  ลักษณะภูมิอากาศ


ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน    เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายน
ฤดูฝน    เริ่มประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว   เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์

1.4 ลักษณะของดิน


ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  75 % ดินลูกรังประมาณ 15 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10 %


1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ


มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ  อุปโภค-บริโภค  จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการปรับปรุง/ก่อสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน  ดังนี้ 

 

หมู่ ประเภทแหล่งน้ำ หมายเหตุ
ประปา บ่อบาดาล สระน้ำ ฝาย ทำนบ บ่อน้ำตื้น ห้วย/คลอง
3 - - 1 - 1 - 1  
4 - 1 2 - 1 - 1  
5 1 1 3 - - - 1  
6 - 1 1 - 1 - 1  
รวม 1 3 7 - 3 - 4  

 

 

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้


ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกไม่มีพื้นที่ป่าไม้  แต่เป็นต้นไม้ที่ปลูกขึ้นเอง ลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ

2.ด้านการเมือง/การปกครอง


     2.1 เขตการปกครอง


     องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นจากองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2542 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดจิก จำนวน 4 หมู่บ้าน  มีเนื้อที่ประมาณ 6.35 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,969 ไร่ หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก มีทั้งหมดจำนวน  4 หมู่บ้าน  ประกอบด้วย

หมู่ที่ 3 บ้านสลักใด ผู้ปกครอง นางสาววิไลลักษณ์ ถีระภาพร ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4  บ้านขาม    ผู้ปกครอง นายสมบัติ ถีสูงเนิน  กำนัน
หมู่ที่ 5  บ้านสลักใด ผู้ปกครอง นางสมควร      คณิตศิลป์   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6   บ้านโนนตะโก     ผู้ปกครอง    นายเจริญ  ดีสูงเนิน        ผู้ใหญ่บ้าน

             
                    
2.2  การเลือกตั้ง
     ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก รวมทั้งสิ้น 1,926 คน  ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ครั้งล่าสุด (เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564)

 

หมู่ที่  ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง  ร้อยละ  บัตรเสีย ส.อบต./นายก
3 593 480 80.94 7/8
4 382 310 81.15 9/6
5 529 449 84.88 5/13
6 449 378 84.19 9/6
รวม 1,953 1,617 82.80 30/33

 

 

ปัจจุบันนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกมาจากคำสั่ง คสช. และยังไม่มีการเลือกตั้ง

คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก  ประกอบด้วย


1.นาวัธวุฒิ คลาดสูงเนิน   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

2.นายเฉลิม เพชรสูงเนิน  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

3.นายชัยวัฒน์ ตอสูงเนิน  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก

4.นายเวทย์ ฝากไธสง     เลขานุการนายก องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก


สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก  ประกอบด้วย

1 นายวิทูล ถีสูงเนิน ประธานสภาฯ (สมาชิกสภาฯ  ม.4)
2 นายบุญส่ง ชุมพูเวียง รองประธานสภาฯ
3 นางสมใจ ทาวี เลขานุการสภาฯ   (สมาชิกสภาฯ ม.3)
4 นางลดาวัลย์ ชมโคกกรวด สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 3
5 นายเบญจวรรณ เนียมสูงเนิน สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 5
นายพิทักษ์ น้อมสูงเนิน สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 6

จำนวนบุคลากร   พนักงานส่วนตำบล   พนักงานจ้าง  ปัจจุบันมีข้าราชการจำนวน  10  คน

พนักงานจ้างทั่วไปจำนวน  7   คน    พนักงานจ้างเหมาจำนวน 7   คน แบ่งส่วนราชการออกเป็นจำนวน 6   ส่วนราชการ   ดังนี้


สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

1 นางกัลญา อุ่นบันเทิง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
2 ว่าที่ร้อยตรีอาวิภัช กุลดิษยฉัตร นักจัดการงานทั่วไป
3 นายสุรชัย เทียนงูเหลือม นักพัฒนาชุมชน
4 นายศาตราวุธ พินิจ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
5 นางสาวปิ่นแก้ว อบมาสุ่ย เจ้าพนักงานธุรการ
6 นายพิจิตร เปียสูงเนิน พนักงานจ้างทั่วไป
7 นางลำพึง เหมนิธิ พนักงานจ้างทั่วไป
8 นางสาวพรหมรินทร์  ศิริสูงเนิน พนักงานจ้างเหมา
9 นายเลี่ยม เรืองศรี พนักงานจ้างเหมา (รปภ.)
10 นายสว่าง ศิริสูงเนิน พนักงานจ้างเหมา (คนสวน)

  


กองคลัง

1 นางรินทร์ประวีร์ บริบูรณ์ ผู้อำนวยการกองคลัง
2 นางสาวพัทรธินันต์ ดุลเปี่ยมหิรัญ นักวิชาการการเงินและบัญชี
3 นางสาวอัญพัชญ์ พงศ์ภมรวัฒน์ นักวิชาการจัดเก็บรายได้
4 นางพรพรรณิษา ดลอ่วมสันเทียะ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
5 นางสาวรภัชตา ภัทรยิ่งกำแพง นักวิชาการพัสดุ
6 นายอภิวัฒน์ แซกขุนทด พนักงานจ้างเหมา




กองช่าง  

1 นายยุทธชัย แสนสุข ผู้อำนวยการกองช่าง
2 นายเริงณรงค์ เทียนชัยแสง นายช่างโยธา
3 นางสาวจริยา ภูมิสูงเนิน พนักงานจ้างทั่วไป
4 นายวรภัทร       มณีนวกุล พนักงานจ้างเหมา (ผู้ช่วยช่าง)




กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1 นางสาวเจนจิรา เขียวอ่อน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
2 นางดวงใจ ลวดลาย พนักงานจ้างทั่วไป
3 นายจรินทร์ กลิ่นถาวร พนักงานขับรถขยะ
4 นายบรรเจิด สังเกตุจิตร พนักงานประจำรถขยะ
       



กองการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

1 นางกัลญา อุ่นบรรเทิง รองปลัด อบต. (รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองศึกษา)
2 นางสาวอัญชลี พรจะโป๊ะ พนักงานจ้างทั่วไป(ผู้ดูแลเด็ก)
3 นางนงลักษณ์ พลจันทึก พนักงานจ้างทั่วไป
4 นางสาวรัฐริญญา สมบัติอนุกูล พนักงานจ้างเหมา(ผู้ดูแลเด็ก)
5 นางสาวปัทมา กฤษสุวรรณ ครู (หัวหน้าศูนย์ฯ)
6 นายปฐมพร อานุภาพ พนักงานจ้างเหมา

 

 ตรวจสอบภายใน

1 นางสาวชมพูนุช กิตติเสรีบุตร ตรวจสอบภายใน

3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร


จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  915  ครัวเรือน  จำนวนประชากรทั้งสิ้น  2,354  คน  แยกเป็นชาย    1,133  คน  แยกเป็นหญิง  1,221  คน  

 

จำนวนหมู่บ้าน  4  หมู่บ้าน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน หญิง (คน) ชาย (คน)
3 บ้านสลักได 280 380 324
4 บ้านขาม 207 240 236
5 บ้านสลักได 243 336 313
6 บ้านโนนตะโก 219 280 249
  รวม 949 1,236 1,122

 หมายเหตุ  ข้อมูล ณ วันที่ 30  เมษายน 2565  

 4.สภาพทางสังคม


4.1 การศึกษา


ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก มีสถานศึกษาทั้งหมด 5 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น
- ระดับเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 1 แห่ง  ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านสลักใด ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3
- ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนกุดจิกวิทยา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 4 (ปัจจุบันถ่ายโอนภารกิจให้ อบจ.)
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา (สาขาสูงเนิน)  จำนวน 1 แห่ง


4.2  สาธารณสุข


การให้บริการทางด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกุดจิก  โดยให้บริการทั้งตำบลซึ่งได้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขในเขตตำบลกุดจิก


4.3 อาชญากรรม


องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกไม่มีเหตุอาชญากรรม ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เช่น การติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วม ทางแยก การก่อสร้างลูกระนาดชะลอความเร็ว รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน


4.4  ยาเสพติด


ปัญหายาเสพติดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก พบว่ามีผู้ที่ติดยาเสพติด องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี


4.5  การสังคมสงเคราะห์


องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ถึงบ้าน
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
5. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน  ยากไร้  รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง           
6. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน  

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน


ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้


5.1  การคมนาคมขนส่ง

-   เส้นทางหลักในหมู่บ้านและตำบล  เป็นถนนลาดยาง  และถนน  คสล.
-   เส้นทางซอยของหมู่บ้านในตำบลเป็นถนนดิน ประมาณร้อยละ  13.79

 

หมู่่ที่ ถนนลาดยาง ถนน คสล. ถนน หินคลุก , ลูกรัง
จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.) จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.) จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.)
3 1 1.185 7,110 11 2.280 73,055 1 0.70 4,200
4 1 1.438 7,190 7 3.020 70,300 1 1.00 6,000
5 - - - 14 3.567 126,015 1 0.70 4,200
6 - - - 8 3.007 4,534 3 5.16 92,880
รวม 2 2.623 14,300 40 11.874 273,904 6 7.56 107,280



หมู่่ที่ ถนนดิน ทางเท้า ระบบระบายน้ำ
จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.) จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.) จำนวนเส้น ระยะทาง(กม.) คิดเป้นพื้นที่(ตร.ม.)
3 - - - 1 0.135 337.50 2 0.86 1,720
4 - - - - - - 4 0.75 3,000
5 - - - - - - 3 0.74 2,220
6 - 2.00 10,000 - - - 1 0.50 500
รวม 1 2.00 10,000 1 0.135 0.337 10 2.85 7,440

 

 5.2  การไฟฟ้า  เขตตำบลกุดจิกเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์  ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะ    ยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างยังไม่เป็นที่สาธารณะ



5.3  การประปา  ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก  ได้รับการบริการด้านการประปาจากประปาหมู่บ้าน ซึ่งมีประปาใช้ครบทุกหลังคาเรือน แต่ไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี



5.4  โทรศัพท์  ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก ส่วนใหญ่ใช้การสื่อสาร ได้แก่  โทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโทรศัพท์สาธารณะที่สามารถใช้การได้ มีจำนวน 1  ตู้ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนกุดจิกวิทยา


5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสาร ที่ทำการไปรษณีย์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกุดจิก จำนวน  1  แห่ง

 

6. ระบบเศรษฐกิจ


6.1 การเกษตร  ปัจจุบันประชากรองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตรผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพ ค้าขายและรับจ้างทั่วไป

6.2 การประมง  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกไม่มีการประมง         

6.3 การปศุสัตว์  เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน เช่น การเลี้ยงไก่  เป็ด  โค  สุกร

6.4 การท่องเที่ยว  เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกไม่มีแหล่งท่องเที่ยว  แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ

6.5 อุตสาหกรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก เป็นประเภทอุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ โรงสีข้าวขนาดเล็ก

6.6  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ  เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก จะมีร้านขายของเบ็ดเตล็ด ร้านก๋วยเตี๋ยว มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ จำนวน 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์

6.7 แรงงาน ประชากรในวัยแรงงานไปทำงานนอกพื้นที่ในเขตตำบลใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม


7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)


บ้านสลักใด  หมู่ที่ 3
1. ข้อมูลด้านการเกษตร
1.1 ทำนา จำนวน 54 ครัวเรือน 788 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,700 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  6,500 บาท/ไร่
1.2 ทำไร่ข้าวโพด จำนวน 2 ครัวเรือน 57 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 700 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,000 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  8,000 บาท/ไร่
2. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
2.1 ปริมาณน้ำฝน เพียงพอในการทำการเกษตร
2.2 แหล่งน้ำธรรมชาติ (คลอง) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี
2.3 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (ฝาย สระ บ่อบาดาล) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี

บ้านขาม  หมู่ที่ 4
1. ข้อมูลด้านการเกษตร
1.1 ทำนา จำนวน 25 ครัวเรือน 526 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,930 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  6,500 บาท/ไร่
1.2 ทำไร่ข้าวโพด จำนวน 3 ครัวเรือน 46 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 680 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,900 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  7,800 บาท/ไร่
2. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
2.1 ปริมาณน้ำฝน เพียงพอในการทำการเกษตร
2.2 แหล่งน้ำธรรมชาติ (คลอง) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี
2.3 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (สระ บ่อบาดาล) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี

บ้านสลักใด  หมู่ที่ 5
1. ข้อมูลด้านการเกษตร
1.1 ทำนา จำนวน 49 ครัวเรือน 695 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 850 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,500 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  6,800 บาท/ไร่
2. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
2.1 ปริมาณน้ำฝน เพียงพอในการทำการเกษตร
2.2 แหล่งน้ำธรรมชาติ (คลอง) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี
2.3 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (ฝาย สระ บ่อบาดาล) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี

บ้านโนนตะโก  หมู่ที่ 6
1. ข้อมูลด้านการเกษตร
1.1 ทำนา จำนวน 80 ครัวเรือน 676 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัม/ไร่  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,930 บาท/ไร่  ราคาขายโดยเฉลี่ย  6,500 บาท/ไร่
2. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
2.1 ปริมาณน้ำฝน เพียงพอในการทำการเกษตร
2.2 แหล่งน้ำธรรมชาติ (คลอง) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี
2.3 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (สระ บ่อบาดาล) ไม่เพียงพอในการทำการเกษตรตลอดทั้งปี


8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลกุดจิก  จะนับถือศาสนาพุทธ  โดยมีศาสนสถาน 2 แห่ง คือ
1.  วัดบ้านสลักใด          ตั้งอยู่ที่บ้านสลักใด หมู่ที่ 5
2.  วัดสันติสีราราม        ตั้งอยู่ที่บ้านขาม   หมู่ที่ 4

8.2 ประเพณีและงานประจำปี
-  ประเพณีวันขึ้นปีใหม่    ประมาณเดือน    มกราคม
-  ประเพณีกินเข่าค่ำ      ประมาณเดือน    มีนาคม
-  ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน    เมษายน
-  ประเพณีลอยกระทง    ประมาณเดือน    พฤศจิกายน
-  ประเพณีวันเข้าพรรษา - ออกพรรษา   ประมาณเดือน กรกฎาคม  ตุลาคม

8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิกได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำข้าวทอด
ภาษาถิ่น  ส่วนใหญ่ประชาชนพูดภาษาโคราช  

8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจิก จะมีสินค้าที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวทอด       


9. ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำ  ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากลำตะคอง ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้
ป่าไม้  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีป่าไม้
ภูเขา  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีภูเขา
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก และที่อยู่อาศัย  ตามลำดับ  มีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ